pran-icec


ข้อมูลจังหวัด
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ตราประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ตราประจำจังหวัด
เมืองทองเนื้อเก้า มะพร้าว สับปะรด
สวยสด หาด เขา ถ้ำ งามล้ำน้ำใจ
ข้อมูลทั่วไป
ชื่ออักษรไทย ประจวบคีรีขันธ์
ชื่ออักษรโรมัน Prachuap Khiri Khan
ชื่อไทยอื่นๆ ประจวบ
ผู้ว่าราชการ วีระ ศรีวัฒนตระกูล
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2552)
ISO 3166-2 TH-77
ต้นไม้ประจำจังหวัด เกด
ดอกไม้ประจำจังหวัด เกด
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่ 6,367.620 ตร.กม.[1]
(อันดับที่ 32)
ประชากร 520,271 คน[2] (พ.ศ. 2556)
(อันดับที่ 48)
ความหนาแน่น 81.70 คน/ตร.กม.
(อันดับที่ 58)
ศูนย์ราชการ
ที่ตั้ง ศาลากลางจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ถนนสละชีพ ตำบลประจวบคีรีขันธ์อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 77000
โทรศัพท์ (+66) 0 3260 3991-5
โทรสาร (+66) 0 3260 3991-5
เว็บไซต์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์




ประวัติศาสตร์ 

จังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาไม่ค่อยแน่ชัด เนื่องจากเป็นพื้นที่แคบ ยามมีศึกสงครามยากแก่การป้องกันจึงต้องปล่อยให้เป็นเมืองร้างหรือยุบเมืองเป็นส่วนหนึ่งของเมืองเพชรบุรี ในอดีตเป็นเพียงเมืองชั้นจัตวาเล็ก ๆ ที่รวมกันอยู่ภายใต้การปกครองของเมืองเพชรบุรี พอถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงได้โปรดเกล้าฯ ตั้งเมือง เมืองบางนางรม ที่ปากคลองบางนางรม แต่ที่ดินไม่เหมาะสมแก่การเพาะปลูกจึงย้ายที่ว่าการเมืองไปตั้งที่เมืองกุย ที่มีความอุดมสมบูรณ์และการตั้งบ้านเรือนหนาแน่นกว่า

ครั้นสมัยรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2398 โปรดเกล้าฯให้เปลี่ยนชื่อจาก “เมืองกุย” เป็น “เมืองประจวบคีรีขันธ์” โดยรวมเมืองกุย เมืองคลองวาฬ เมืองบางนางรม เข้าด้วยกัน โดยที่ตั้งเมืองยังคงตั้งอยู่ที่เมืองกุย คืออำเภอกุยบุรี ในปัจจุบัน เพื่อให้ชื่อคล้องจองกันกับระหว่างเมืองประจวบคีรีขันธ์ กับ'เมืองประจันตคีรีเขต' ซึ่งเดิมคือเกาะกงที่แยกออกจากจังหวัดตราด

ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2441 จึงย้ายมาอยู่ที่บ้านเกาะหลัก ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล เมืองประจวบคีรีขันธ์ เมืองชั้นจัตวาซึ่งขึ้นตรงกับเมืองเพชรบุรี จึงมีสถานะเป็นอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ สังกัดเมืองเพชรบุรี ในช่วงนี้เมืองปราณบุรี ซึ่งมีอาณาเขตติดอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ด้านทิศเหนือ ซึ่งเคยมีฐานะเป็นเมืองชั้นจัตวา ขึ้นกับเมืองเพชรบุรี ก็ได้จัดตั้งเป็นอำเภอเมืองปราณบุรี สังกัดเมืองเพชรบุรีด้วย[3] ส่วนเมืองกำเนิดนพคุณขึ้นตรงกับเมืองชุมพร ด้วยมีพระราชดำริสงวนชื่อเมืองปราณไว้ (เมืองเก่าที่ตั้งอยู่ที่ปากน้ำปราณบุรี) ต่อมา วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชองการเหนือเกล้าให้รวมเอาอำเภอเมืองปราณบุรี อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธุ์ จังหวัดเพชรบุรี และอำเภอกำเนิดนพคุณ จังหวัดชุมพร ซึ่งเป็นเมืองชั้นจัตวามาก่อนเข้ารวมเป็นจังหวัดปราณบุรี ตั้งที่ตำบลเกาะหลัก[4] ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้มีการเปลี่ยนชื่อเมืองปราณบุรีเป็นเมืองประจวบคีรีขันธ์ เพื่อป้องกันการสับสนกับเมืองปราณ ที่ปากน้ำปราณบุรี [5] [6]หลังจากมีการยกเลิกระบบการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล เมืองประจวบคีรีขันธ์จึงไม่ได้ขึ้นตรงกับเมืองเพชรบุรีและมณฑลราชบุรีอีก

ภูมิศาสตร์[แก้]

มีเนื้อที่ประมาณ 6,367.620 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 3,979,762.5 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้

ความยาวจากทิศเหนือจรดทิศใต้ ประมาณ 212 กิโลเมตร และชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 224.8 กิโลเมตร มีส่วนที่แคบที่สุดของประเทศอยู่ในเขตตำบลคลองวาฬ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จากอ่าวไทยถึงเขตแดนพม่าประมาณ 12 กิโลเมตร ระยะทางจากกรุงเทพฯ ตามทางหลวงแผ่นดินสายเอเชียหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ประมาณ 399 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 4 ชั่วโมงเศษ และตามเส้นทางรถไฟสายใต้ ประมาณ 318 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 4-6 ชั่วโมง

หน่วยการปกครอง[แก้]

การปกครองแบ่งออกเป็น 8 อำเภอ 48 ตำบล 388 หมู่บ้าน

  1. อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์
  2. อำเภอกุยบุรี
  3. อำเภอทับสะแก
  4. อำเภอบางสะพาน
  5. อำเภอบางสะพานน้อย
  6. อำเภอปราณบุรี
  7. อำเภอหัวหิน
  8. อำเภอสามร้อยยอด
 แผนที่

ทำเนียบผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์[แก้]

ชื่อช่วงเวลาดำรงตำแหน่ง
1. พระพิชัยชลสินธ์ (จันทร์ ไชยมงคล) ไม่ทราบข้อมูล
2. พระพิชัยชลสินธ์ (สิงห์ ไชยมงคล) ไม่ทราบข้อมูล
3. พระพิชัยชลสินธ์ (พุธ ไชยมงคล) ไม่ทราบข้อมูล
4. หลวงบริบาลคีรีมาส (ิทม) พ.ศ. 2436
5. พระพิบูลย์สงคราม (จร) พ.ศ. 2444–2450
6. หม่อมเจ้าปราณี เนาวบุตร พ.ศ. 2450–2458
7. พระยาสวัสดิ์คีรีศรีสมันตราษฎรนายก พ.ศ. 2458–2471
8. อำมาตย์เอกหม่อมเจ้าทองเติม ทองแถม พ.ศ. 2471–2476
9. หลวงภูวนารถ นรานุบาล พ.ศ. 2476–2478
10. พระบริหารเทพธานี พ.ศ. 2478–2479
11. หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ พ.ศ. 2480
12. หลวงวิมลประชาภัย พ.ศ. 2480 –2481
13. น.ท.ขุนจำนงภูมิเวท พ.ศ. 2481
14. ขุนบำรุงรัตนบุรี พ.ศ. 2481–2484
15. น.ท.สุรชิตชาญฤทธิ์รณสุวรรณโนดม พ.ศ. 2485–2487
16. นายแม้น อรจันทร์ พ.ศ. 2482–2487
17. ขุนสำราญราษฎร์บริรักษ์ พ.ศ. 2487–2488
18. นายอุดม บุญยประสพ พ.ศ. 2488–2489
19. ขุนสนิท ประชาราษฎร์ พ.ศ. 2489–2490
20. ขุนปัญจพรรคพิบูล พ.ศ. 2490–2491
21. นายถนอม วิบูลย์มงคล พ.ศ. 2491–2492
22. นายแสวง พิมทอง พ.ศ. 2492–2494
23. นายประสงค์ อิศรภักดี พ.ศ. 2494–2495
24. นายอรรถ วิสูตรโยธาพิบาล พ.ศ. 2495
25. พ.ต.อ.จำรัส โรจนจันทร์ พ.ศ. 2495–2496
26. นายแสวง รุจิรัตน์ พ.ศ. 2496
27. พ.ต.อ.ตระกูล วิเศษรัตน์ พ.ศ. 2496–2497
28. นายประสงค์ อิศรภักดี พ.ศ. 2497–2499
29. นายสอาด ปายะนันท์ พ.ศ. 2499–2503
30. นายประจักษ์ วัชรปาน พ.ศ. 2503–2510
31. นายประหยัด สมานมิตร พ.ศ. 2510–2513
32. นายสุวิทย์ ยิ่งวรพันธุ์ พ.ศ. 2513–2515
33. นายสุชาติ พัววิไล พ.ศ. 2515–2518
34. นายสอาด ศิริพัฒน์ พ.ศ. 2518–2519
35. นายปฐม สุทธิวาทนฤพุฒิ พ.ศ. 2519–2522
36. นายมานิต วัลยะเพ็ชร์ พ.ศ. 2522–2523
37. นายเสน่ห์ วัฑฒทาธร พ.ศ. 2523–2525
38. น.อ.จำลอง ประเสริฐยิ่ง ร.น. พ.ศ. 2525–2526
39. นายบรรโลม ภุชงคกุล พ.ศ. 2526–2528
40. ม.ล.ภัคศุก กำภู พ.ศ. 2528–2529
41. นายบุญช่วย ศรีสารคาม พ.ศ. 2529–2532
42. ร.อ.อำนวย ไทยานนท์ พ.ศ. 2532–2537
43. นายกอบกุล ทองลงยา พ.ศ. 2537–2539
44. นายประสงค์ พิทูรกิจจา พ.ศ. 2539–2547
45. นายกิตติพงษ์ สุนานันท์ พ.ศ. 2547–2549
46. นายประสงค์ พิทูรกิจจา พ.ศ. 2549–2551
47. นายปานชัย บวรรัตนปราณ พ.ศ. 2551–2552
48. นายวีระ ศรีวัฒนตระกูล พ.ศ. 2552–ปัจจุบัน

อ้างอิง จาก www.th.wikipedia.org  มีนาคม 2559


Power by งานศูนย์ข้อมูลสารสนเทศ วิทยาลัยการอาชีพปราณบุรี © 2019


Generated 1.134861 sec.