pran-icec


ข้อมูลทั่วไปของสถานศึกษา

สืบเนื่องจากรัฐบาล 
มีนโย บายให้กระทรวงศึกษาธิการ ขยายการศึกษาด้านการอาชีวศึกษา สู่ชนบทมากขึ้น โดยให้จัดตั้งวิทยาลัยการอาชีพระดับอำเภอทั่วประเทศรวม 70 แห่ง เพื่อจัดการอาชีวศึกษา ระดับหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น และขยายการเปิดสอนระดับอื่น ๆ ที่สูงขึ้นในโอกาสต่อไปนั้น ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2539 สำนักงานศึกษาธิการอำเภอปราณบุรีได้เสนอผ่านวิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวล เพื่อมอบที่ดินจำนวน 15 ไร่ หลังที่ว่าการอำเภอปราณบุรี ใช้ในการจัดตั้งวิทยาลัยการอาชีพปราณบุรี


เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2539
 นายธนชัย คงกะเรียน ผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้านหนองกา พร้อมด้วยคณะกรรมการหมู่บ้านหนองกา หมู่ที่ 7 ต.ปราณบุรี อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ได้เสนอผ่านวิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวล เพื่อจะมอบที่ดินสาธารณะประโยชน์ 3 แปลงและสระหลวง 1 แปลง รวมที่ดิน 47 ไร่ 2 งาน 47 ตารางวา ในบริเวณหมู่บ้านหนองกาหมู่ที่ 7 ต.ปราณบุรี ให้กับกรมอาชีวศึกษา เพื่อใช้จัดตั้งวิทยาลัยการอาชีพปราณบุรี


เดือนมกราคม พ.ศ. 2540
 คณะกรรมการ อ.บ.ต. วังก์พง อ.ปราณบุรี นำโดยกำนัน ถวิล ดอกยี่สุ่น เสนอต่อวิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวล เพื่อมอบที่ดินสาธารณะประโยชน์ทุ่งหัวเป้ง หมู่ 5 ต.วังก์พง อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 70 ไร่ เพื่อสร้างวิทยาลัยการอาชีพปราณบุรี


11 กุมภาพันธ์ 2540
 กรมอาชีวศึกษา ได้แต่งตั้งผู้ประสานงานและผู้ช่วยผู้ประสานงานจัดตั้งวิทยาลัยการอาชีพปราณบุรี ประกอบด้วย

1. นายปรีชา อินทะกนก ผู้ช่วยผู้อำนายการวิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวล เป็นผู้ประสานงาน
2. นายญาณพิชญ์ โกมลพันธุ์ อาจารย์ 2 ระดับ 7 วิทยาลัยเทคนิคประจวบคีรีขันธ์ เป็นผู้ช่วยผู้ประสานงาน
3. นายศิริพงษ์ พูลผล อาจารย์ 2 ระดับ 6 วิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวล เป็นผู้ช่วยผู้ประสานงาน


เดือนมีนาคม พ.ศ. 2540
 ผู้ประสานงานจัดตั้งวิทยาลัยการอาชีพปราณบุรี ได้พิจารณาคัดเลือกที่ดิน หมู่ 7 ต.ปราณบุรี จำนวน 2 แปลง รวม 39 ไร่ 1 งาน 94 ตารางวา จัดตั้งวิทยาลัยการอาชีพปราณบุรี เพื่อเสนอกรมอาชีวศึกษาพิจารณา ทั้งนี้เนื่องจากที่ดินหลังที่ว่าการอำเภอปราณบุรี ติดกับสนามยิงปืนของกองพลทหารราบที่ 16 จึงไม่ค่อยปลอดภัย และที่ดิน หมู่ 5 ต.วังก์พง มีปัญหาเรื่องการบุกรุกที่ดินสาธารณประโยชน์


18 มิถุนายน 2540 กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีประกาศจัดตั้งวิทยาลัยการอาชีพปราณบุรี สังกัดกองการศึกษาอาชีพกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และกรมอาชีวศึกษาได้แต่งตั้งผู้ประสานงานและผู้ช่วยผู้ประสานงานทำหน้าที่ ผู้อำนวยการและทำหน้าที่ผู้ช่วยผู้อำนวยการ เพื่อจะได้ดำเนินงานในการจัดตั้งวิทยาลัย


เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2540 
ได้เริ่มดำเนินการ จัดสร้างอาคารเรียนและอาคารประกอบชั่วคราวรวม 12 รายการ เป็นเงิน 8,980,000.- บาท (แปดล้านเก้าแสนแปดหมื่นบาทถ้วน) โดยมีท่านผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวล (นางสุเดือน ชลวิไล) คอยดูแลให้ความช่วยเหลือทั้งด้านบุคลากร, วัสดุ, อุปกรณ์ต่างๆ ในการเริ่มตั้งสำนักงาน ระหว่างดำเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จในเดือน พฤษภาคม 2541


เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2541
 เริ่มเปิดสอนหลักสูตร ปวช. เป็นครั้งแรกจำนวน 2 แผนก คือ แผนกวิชาช่างยนต์ และแผนกวิชาการบัญชี มีนักเรียนทั้งสิ้น 160 คน และได้ขยายเปิดเพิ่ม แผนกวิชาช่างไฟฟ้ากำลังในปีการศึกษา 2542 และในปีงบประมาณ 2542 ได้รับงบประมาณในการจัดสร้างอาคารเรียนและปฏิบัติการ 3 ชั้น 1 หลัง อาคารโรงฝึกงาน 3 ชั้น 1 หลัง รวมงบประมาณก่อสร้าง 28,430,000.- บาท และได้รับจัดสรรครุภัณฑ์การศึกษาตั้งแต่ปี งบประมาณ 2541 ต่อเนื่องถึงปัจจุบันเพื่อใช้ในการจัดการศึกษา ด้านการอาชีวศึกษาให้กับท้องถิ่น เพื่อมุ่งหวังให้ผู้สำเร็จ การศึกษาสามารถออกไปประกอบอาชีพได้ทั้งภาครัฐและเอกชน มีความสามารถเชื่อมั่นตนเองในอาชีพสามารถสร้างงานเพื่อประกอบอาชีพอิสระได้ และมีพื้นฐานความรู้เพียงพอสำหรับการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมในอนาคต


ทำเนียบผู้บริหารสถานศึกษาจํานวน 10 คน ดังนี้

1. นายปรีชา  อินทะกนก ดำรงตำแหน่ง ในปี พ.ศ. 2540 - 2546
2. นายสมบูรณ์  ศิริสุขวัฒนา ดำรงตำแหน่ง ในปี พ.ศ. 2546 - 2549
3. นายชลิต  เฟื่องเรือง ดำรงตำแหน่ง ในปี พ.ศ. 2549 - 2550
4. นายบุญลือ  ทองเกตุแก้ว ดำรงตำแหน่ง ในปี พ.ศ. 2551 - 2552
5. นายปริญญา  นฤมิตบวรกุล ดำรงตำแหน่ง ในปี พ.ศ. 2552 - 2554
6. นางอุษณีย์  จิตตะปาโล ดำรงตำแหน่ง ในปี พ.ศ. 2554 - 2555
7. นายอนันต์  โดรณ  ดำรงตำแหน่ง ในปี พ.ศ. 2555 - 2558
8. นางสาวธัชมาศ  พิภักดิ์  ดำรงตำแหน่ง ในปี พ.ศ. 2558 - 2562
9. นางสาวสุกัญญา  สุขสถาน  ดำรงตำแหน่ง ในปี พ.ศ. 2562 - 2564
10. นางกรรณิการ์ ลิมปนะวงศานนท์  ดำรงตำแหน่ง ในปี พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน


Power by งานศูนย์ข้อมูลสารสนเทศ วิทยาลัยการอาชีพปราณบุรี © 2019


Generated 0.019645 sec.